เกี่ยวกับเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

    ตำบลท่าแลง แต่ก่อนเป็นชื่อหมู่บ้าน ในจำนวน  14 หมู่บ้าน ของตำบลยางหย่อง  ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอำเภอท่ายาง ( ที่บ้านท่าเหว )  มาก่อน  ก่อนที่จะย้ายไปตั้งอยู่ที่ปัจจุบันนี้  ต่อมาเมื่อ  พ.ศ.2528  ได้มีการแบ่งแยกออกมาเป็นตำบลท่าแลง  ซึ่งมีทั้งหมด  9  หมู่บ้าน  มีพื้นที่  26,961  ไร่  มีนายจันทร์  ประจวบศิลป์  เป็นกำนันคนแรก

    ชื่อของบ้านท่าแลงไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเหตุใดจึงตั้งชื่อว่า  ท่าแลง  แต่จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ในพื้นที่  ทราบว่าบริเวณบ้านท่าแลง  มีดินชนิดพิเศษที่เมื่อขุดขึ้นมาจากพื้นดินแล้วจะมีความแข็งแรงมาก หรือที่เรียกว่า  ศิลาแลง

    ชาวบ้านตำบลท่าแลงส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบเกษตรกรชนบท  เนื่องจากมีพื้นที่ขนานไปกับแม่น้ำเพชรบุรีระยะเกินครึ่งหนึ่งของระยะทางยาวทั้งตำบล  มีคลองส่งน้ำชลประทานผ่านเป็นระยะทางยาวทุกหมู่บ้าน    ( ยกเว้นบ้านห้วยตะแกละ )

    ต่อมาตามประกาศ  ของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  326  เมื่อวันที่ 13  ธันวาคม  2515 ตำบลท่าแลงจึงยกฐานนะเป็นสภาตำบลและเป็น สภาตำบลนิติบุคคล  เมื่อวันที่   2 มีนาคม  2538 

    และได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแลง  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เมื่อวันที่  30  มีนาคม  2539  และเมื่อวันที่  1  กรกฎาคม  2545  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งหมู่บ้าน  หมู่ที่  10  บ้านชลประทานราษฎร์ ขึ้นใหม่โดยแยกจากหมู่ที่  1 บ้านคอละออม

    และในวันที่  24  กรกฎาคม 2551  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะ จากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแลงเป็นเทศบาลตำบลท่าแลง

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

          ชุมชนน่าอยู่                               ประชากรมีคุณภาพชีวิต 

 ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ    การบริหารจัดการที่โปร่งใส

 

คำขวัญตำบลท่าแลง

              วัวเทียมเกวียนขึ้นชื่อลือไกล          แม่น้ำเพชรใสไหลผ่าน

              แหล่งท่องเที่ยวน่าชมสราญ           กล้วยมะนาวใหญ่คู่บ้านท่าแลง             

                         

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านคอละออม 184 248 263 511 คน
หมู่ที่ 2 บ้านท่าเหว 167 240 241 481 คน
หมู่ที่ 3 บ้านบ่อตะกั่ว 226 298 351 649 คน
หมู่ที่ 4 บ้านน้ำลัด 199 285 282 567 คน
หมู่ที่ 5 บ้านห้วยตะแกะ 324 434 438 872 คน
หมู่ที่ 6 บ้านท่าแลง 226 278 307 585 คน
หมู่ที่ 7 บ้านแม่เบื้อ 263 392 378 770 คน
หมู่ที่ 8 บ้านหนองน้ำถ่าย 151 217 246 463 คน
หมู่ที่ 9 บ้านหนองพลับ 251 385 430 815 คน
หมู่ที่ 10 บ้านชลประทานราษฎร์ 267 290 317 607 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป

    ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4  บ้านน้ำลัด    เทศบาลตำบลท่าแลง   ตำบลท่าแลง  อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี  ห่างจากตัวอำเภอท่ายางไปทางทิศใต้  ประมาณ  6  กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

    เป็นที่ราบลุ่มเหมาะต่อการทำเกษตรกรรม  และมีบางส่วนเป็นเขาเตี้ยๆๆ  ใช้นำจากแม่น้ำเพชรบุรี  คลองชลประทาน  และแหล่งน้ำธรรมชาติ และมีพื้นที่บางแห่งเป็นที่ราบเชิงเขาสภาพดินไม่อุ้มน้ำ

การเมืองการปกครอง

มีหมู่บ้านจำนวน  10 หมู่บ้าน

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

เนื้อที่/ไร่

ครัวเรือน

1

 บ้านคอละออม

 นายสงกรานต์  สีมาก

736  

180 

2

 บ้านท่าเหว

 นายประกิจ   รื่นบรรเทิง

2,002  

160 

3

 บ้านบ่อตะกั่ว

 นายบุญรอด  จันทร

1,854  

213 

4

 บ้านน้ำลัด

 นายเฉลา  สุวรรณชาติ

2,300  

          195 

5

 บ้านห้วยตะแกะ

 นางวรรณา  เสือวิเชียร

10,332  

               312 

6

 บ้านท่าแลง

 นายกัมพล วัดน้อย

1,620  

224 

7

 บ้านแม่เบื้อ

 นายจรูญ  ผ่องดี

2,810  

254 

8

 บ้านหนองน้ำถ่าย

นางเทือง  หอมหวล

2,040  

150  

9

 บ้านหนองพลับ

 นายอุทิศ    ช้างน้ำ

2,480  

247  

10

 บ้านชลประทานราษฎร์

 นายบรรชา  แก้วชิงดวง

787  

2602 

 

 

26,916  

2,197  

 

สืบเนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  326  เมื่อวันที่ 13  ธันวาคม  2515

ตำบลท่าแลงจึงยกฐานะเป็น              -  สภาตำบลและเป็น สภาตำบลนิติบุคคล 

-  เมื่อวันที่   2 มีนาคม  2538 

สภาตำบลท่าแลงได้ยกฐานะเป็น        -  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแลง 

-  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร-      ส่วนตำบล พ.ศ.2537

-  เมื่อวันที่  30  มีนาคม  2539

กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งหมู่บ้าน  หมู่ที่  10  บ้านชลประทานราษฎร์

ขึ้นใหม่โดยแยกจากหมู่ที่  1 บ้านคอละออม  

-  เมื่อวันที่  1  กรกฎาคม  2545

องค์การบริการส่วนตำบลท่าแลงได้ยกฐานะเป็น        

-  เทศบาลตำบลท่าแลง

-  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะจากองค์การ-    บริหารส่วนตำบลท่าแลงเป็นเทศบาลตำบลท่าแลง

-  เมื่อวันที่  24  กรกฎาคม 2551 

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

    เทศบาลตำบลท่าแลง  มีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตรกรรม เช่น ทำนา  ทำสวน  มีพื้นที่ทั้งหมด 26,961  ไร่  ( 43.137 ตารางกิโลเมตร )

    อาชีพ

    ทำนา            7,802    ไร่              จำนวน                   634             ครัวเรือน

    ทำไร่            1,700    ไร่              จำนวน                   328             ครัวเรือน

    ทำสวน          7,175    ไร่              จำนวน                   693             ครัวเรือน    

    เลี้ยงสัตว์                                    จำนวน                   375             ครัวเรือน

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล

    ปั้มน้ำมัน                                      จำนวน                      3             แห่ง

    โรงสีข้าวขนาดเล็ก                         จำนวน                      1              แห่ง

    สถานตรวจสภาพรถ(เอกชน)             จำนวน                      1             แห่ง

สภาพทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม

    โรงเรียนประถมศึกษา                          จำนวน          3                แห่ง

    1.โรงเรียนวัดท่าเหว

    2.โรงเรียนบ้านเขาปากช่อง

    3.โรงเรียนบ้านหนองน้ำถ่าย

     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าแลง  จำนวน   1 แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ป้อมตำรวจ                                                            จำนวน  1 แห่ง

ตำรวจชุมชน                                                          จำนวน 2 แห่ง

อปพร.                                                                    จำนวน 1 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง

ลูกเสือชาวบ้าน                                                      จำนวน 1 รุ่น

ไทยอาสาป้องกันชาติ                                            จำนวน 1 รุ่น

อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง                                    จำนวน 1 รุ่น

อาสาแจ้งข่าวอาชญากรรม                                    จำนวน 1 รุ่น

กลุ่มบริการ

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต                                  จำนวน 4  กลุ่ม

ศูนย์กีฬาตำบล                                                      จำนวน 1  แห่ง

ชมรมผู้สูงอายุ                                                      จำนวน 1 แห่ง     

ร้านค้าชุมชน ต.ท่าแลง                                        จำนวน 1 แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

แหล่งน้ำธรรมชาติ

แม่น้ำเพชรบุรี                                                        จำนวน 1 สาย

ลำห้วย                                                                   จำนวน 3 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ประปาหมู่บ้าน                                                     จำนวน 10 แห่ง

คลองชลประทานราษฏร์                                      จำนวน   1  สาย

ฝาย                                                                       จำนวน 70 แห่ง

บ่อโยก                                                                 จำนวน 17 แห่ง

คูน้ำ                                                                      จำนวน  9  แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

แหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเพชรบุรี

หิน ดิน ทราย ลูกรัง

บึงปรีดา (เอกชน)